ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกวิชาเคมีของ นางสาว วริทธิ์ธร โรจน์อกนิษฐกุล

โค้ดเมาส์

โค้ดเมาส์

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สมการเคมี

  สมการเคมี  คือกลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนแทนการเกิดปฏิกิริยาเคมี 
สมการเคมีมีส่วนประกอบ  3  ส่วน
  1.  สารตั้งต้น(reactants)  คือสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน  เขียนแทนด้วยสูตรเคมี  เขียนไว้ทางซ้ายมือของสมการ
  2.  สารผลิตภัณฑ์ (product)  คือสารที่เกิดจากปฏิกิริยากัน  เขียนแทนด้วยสูตรเคมี เขียนไว้ทางขวามือของสมการ
  3.  เงื่อนไข  ซึ่งเป็นภาวะต่าง ๆ ที่กำหนดให้ปฏิกิริยาเคมี  เช่น  อุณหภูมิ  ตัวเร่งปฏิกิริยา ความดัน  เงื่อนไขเหล่านี้เขียนบอกไว้บนหรือล่างลูกศรได้ โดยสัญลักษณ์ลูกศร    คั่นอยู่ระหว่างสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์
                                                สารตั้งต้น      ---> สารผลิตภัณฑ์  
สมการเคมี  บอกให้ทราบถึงปริมาณของสารตั้งต้นที่ใช้เข้าทำปฏิกิริยากัน  และปริมาณของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ปริมาณสารที่สมการเคมีบอกให้ทราบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่
     1. จำนวนโมลของสาร
     2. จำนวนโมเลกุล  หรือจำนวนอนุภาคที่เกี่ยวข้อง
     3. ปริมาตรของสารที่เป็นแก๊ส ที่สภาวะ  STP
     4. มวลของสารที่ทำปฏิกิริยากัน
สมการเคมีไม่ได้บอกให้ทราบเกี่ยวกับอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาและพลังงานของปฏิกิริยา
      (เว้นแต่จะแสดงค่าพลังงานไว้ด้วย)
สมการเคมีที่สมบูรณ์  จะบอกสถานะของสารในปฏิกิริยาด้วย  และต้องหาตัวเลขที่เหมะสมมาเติมลงข้างหน้า
สัญลักษณ์ หรือสูตร  ของสารในสมการ เพื่อให้มีจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุในผลิตภัณฑ์เท่ากับ
จำนวนอะตอมของแต่ละธาตุในสารตั้งต้น  เรียกว่า  ดุลสมการ
ตัวเลขข้างหน้าสูตรที่ดุลแล้ว  นำเอาไปใช้ประโยชน์ในการคิดคำนวณได้หลายอย่าง
 ในการแบ่งสถานะของสารในปฏิกิริยาจากสมการเคมี  เป็นการเขียนสมการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์
ตัวเล็ก s , l , g , aq
 แทนสถานะของสารดังนี้
      s       =         solid           =        ของแข็ง
      l        =          liquid         =        ของเหลว
      g       =          gas            =       แก๊ส
     aq      =          aqueous     =       สารที่ละลายในน้ำ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น