ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกวิชาเคมีของ นางสาว วริทธิ์ธร โรจน์อกนิษฐกุล

โค้ดเมาส์

โค้ดเมาส์

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เเก๊ส

 สมบัติของแก๊ส
    สมบัติทั่วไปของแก็ส สมบัติทั่วไปของแก็ส ได้แก่
 1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) 
น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 
2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย เช่น แก๊สออกซิเจน 1 โมลมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 C  
 ความดัน 1บรรยากาศ (STP)
 3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก เช่น ไอน้ำ มีความหนาแน่น 0.0006 g/cm3แต่น้ำมีความแน่นถึง 0.9584 g/cm3ที่100 C
 4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
 5. แก็สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
 6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(Cl2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น




ของเหลว

ของเหลว หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง ทำให้อนุภาคไม่ได้อยู่ชิดกันอย่างของแข็ง จึงมีปริมาตรที่แน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ เช่น น้ำ เบนซีน และปรอท เป็นต้น
สมบัติทั่วไปของของเหลว
1. ความตึงผิว
          เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว ( Surface tension )
     ปัจจัยที่มีผลต่อความตึงผิว
1) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล ความตึงผิวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก โมเลกุลที่ผิวหน้าจะถูกดึงเข้าภายในอย่างแรงงานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลวจะมากตาม ความตึงผิวก็มาก
2) อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นพลังงานจลน์ของแต่ละโมเลกุลเพิ่มขึ้น แต่แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลลดลง ทำให้ความตึงผิวลดลง




2. การระเหย
            เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ดังนั้นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอาจมีการขนกันและมีการแลกเปลี่ยนพลังงานกันได้ทำให้โมเลกุลหนึ่ง ๆ อาจได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น และบางโมเลกุลสูญเสียพลังงานลงไป ถ้าโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูง ๆ อยู่ที่บริเวณผวของของเหลว ก็สามารถชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลได้ก็จะหลุดออกไป โมเลกุลที่หลุดออกจากผิวหน้าของของเหลวและอยู่ในสถานะก๊าซ เรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การระเหย ( Evaporation )
     ปัจจัยในการระเหย
1)  อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิทำให้โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงขึ้น โอกาสที่จะชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลย่อมมีมากขึ้น
2)  พื้นที่ผิวของของเหลว ทำให้โมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูงอยู่ที่ผิวมากขึ้นมีโอกาสหลุดออกจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลได้มากขึ้น
3)  การที่ของเหลวอยู่ในระบบเปิด เป็นการป้องกันมิให้มีโอกาสกลับมาควบแน่นได้อีกและไม่ให้มีความดันไอต่อต้านโมเลกุลที่จะระเหยออกไปอีก
4)  ความดันของบรรยากาศเหนือของเหลว ถ้ามีความดันของบรรยากาศต่ำของเหลวย่อมระเหยได้ดีขึ้น
5)  การถ่ายเทของอากาศ มีผลให้การระเหยดีขึ้น
การระเหยในระบบปิดและระบบเปิด


3. ความดันไอ
           เมื่อใส่ของเหลวไว้ในระบบปิด โมเลกุลของของเหลวที่มีพลังงานมากและชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลด้วยกัน ก็จะระเหยกลายเป็นไอ อยู่เหนือผิวของของเหลวนั้น โมเลกุลของไอที่อยู่เหนือผิวของเหลวนั้นจะชนกันเอง ชนกับผิวของภาชนะบ้าง และควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวบ้าง เมื่อของเหลวระเหยกลายเป็นไอเพิ่มขึ้นจนถึงจำนวนหนึ่งจะทำให้ไอนั้นมีความดันค่าหนึ่งจนคงที่ ณ ความดันไอที่คงที่นี้จะมีจำนวนโมเลกุลของไอเหนือขงเหลวมีค่าเท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า ภาวะสมดุล ที่ภาวะสมดุล จำนวนโมเลกุลของของเหลวที่ระเหยไปเป็นไอ และจำนวนโมเลกุลของไอที่ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวเท่ากันตลอดเวลา ที่ภาวะสมดุลใด ๆ ที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ตลอดเวลา ด้วยอัตราเร็วเท่ากันและผลของการเปลี่ยนแปลง ระบบมีสมบัติคงที่ เรียกว่า สมดุลไดนามิก ความดันไอที่อยู่เหนือของเหลว ณ ภาวะสมดุลนี้เรียกว่า ความดันไอ ( Vapor pressure )
      ปัจจัยที่มีผลต่อความดันไอ
1) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ถ้าสารที่มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากความดันไอจะต่ำ เพราะโอกาสที่โมเลกุลจะชนะแรงดึงดูดกลายเป็นไอนั้นยาก
2) อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของระบบสูง ย่อมทำให้โมเลกุลของสารมีพลังงานจลน์สูงขึ้นโอกาสที่จะระเหยกลายเป็นไอมีมากขึ้นความดันไอก็จะเพิ่มขึ้น
3) สารชนิดเดียวกัน ที่อุณหภูมิเท่ากันย่อมมีความดันไอเท่ากันเสมอไม่ว่าสารนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่ากัน นั่นคือ ความดันไอไม่ขึ้นอยู่กับปริมาตรของสาร
4) ความดันไอ จะเกิดขึ้นที่ภาวะสมดุลเท่านั้น ดังนั้นต้องพิจารณาในระบบปิดเสมอ
5) สารที่มีจุดเดือดต่ำ จะมีความดันไอสูง เพราะสารนั้นระเหยง่ายส่วนสารที่มีจุดเดือดสูงความดันไอจะต่ำเพราะสารนั้นระเหยยาก
4. จุดเดือด
การเดือด ( Boiling ) เป็นขบวนการที่โมเลกุลของของเหลวได้รับพลังงานสูงมากจนกลายเป็นไอได้อย่างรวดเร็ว และโมเลกุลของของเหลวทั่วทุกบริเวณในภาชนะนั้นสามารถที่จะหลุดหนีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลได้อย่างรวดเร็ว การเดือดของของเหลวจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิหนึ่ง ซึ่งจะคงที่สำหรับของเหลวแต่ละชนิด เรียกว่า จุดเดือด ( Boiling point ) ความดันไอของของเหลวขณะเดือดจะมีค่าเท่ากับความดันภายนอกหรือมากกว่าซึ่งก็คือความดันบรรยากาศขณะนั้น ความดันของบรรยากาศจะมีผลต่อจุดเดือดของของเหลว คือ ถ้าเปลี่ยนความดันจะทำให้จุดเดือดของของเหลวเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นการบอกจุดเดือดของของเหลวชนิดหนึ่ง ๆ จะต้องบอกความดันของบรรยากาศด้วย เช่น จุดเดือดของน้ำเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 1 บรรยากาศ แต่โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงจุดเดือดโดยไม่ระบุความดันเราหมายถึงจุดเดือดที่ความดัน 1 บรรยากาศ และเรียกว่า จุดเดือดปกติ


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ของเเข็ง

ของแข็ง หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมาก ทำให้อนุภาคอยู่ใกล้ชิดกันดังนั้นจึงมีรูปร่างและปริมาตรของมันเอง โดยไม่เปลี่ยนไปตามรูปร่างของภาชนะที่บรรจุ เช่น เหล็ก เกลือแกง และด่างทับทิม
คุณสมบัติทั่วไปของของแข็ง
        สารที่อยู่ในสถานะของแข็งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลวและก๊าซ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารในสถานะของแข็งส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่ของเหลวและก๊าซ นอกจากนี้ของแข็งยังมีสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญอีกหลายประการคือ มีรูปร่างแน่นอนไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ มีปริมาตรคงที่ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ ไม่สามารถไหลได้ตามภาวะปกติเนื่องจากอนุภาคของแข็งอยู่ชิดกันมาก การจัดเรียงอนุภาคอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน
การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
การจัดเรียงอนุภาคในของแข็งแบ่งตามลักษณะการจัดเรียงอนุภาคของสารได้ 2 ชนิด คือ
1. ของแข็งที่มีลักษณะเป็นผลึก (crystalline solid)
        เป็นของแข็งที่มีพื้นผิวที่ทํามุมกันด้วยค่าที่แน่นอน ซึ่งแสดงถึงการจัดเรียงเป็นระเบียบของอนุภาคของของแข็ง  ผลึกที่มีขนาดใหญ่เมื่อทําให้เล็กลงก็ยังคงรักษาลักษณะรูปผลึกเดิมอยู่ สารบางอย่างอาจมีรูปผลึกได้หลายแบบซึ่งเราจะเรียกว่า ปรากฏการณ์อัญรูป (polymorphism) เช่น เพชร แกรไฟต์ สารบางชนิดอาจจะมีรูปร่างผลึกที่เหมือนกันได้ ซึ่งจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  ภาวะรูปร่างเหมือน (isomorphism) เช่น โซเดียมคลอไรด์  โพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น นอกจากนี้ ผลึกยังมีสมบัติที่เรียกว่า anisotropy อันได้แก่ความแข็งแรงทนทานทางกล ดรรชนีหักเห และการนําไฟฟ้า ถ้าวัดในทิศทางที่ต่างกันค่าที่ได้จะไม่เท่ากัน
คุณสมบัติของแข็งที่มีลักษณะเป็นผลึก
อนุภาคเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบแบบแผนทางเรขาคณิตเป็นสามมิติ เรียกว่า Crystal lattice
ผิวหน้าเรียบ มุมระหว่างผิวหน้ามีค่าแน่นอน
มีจุดหลอมเหลวแน่นอน
มีสมบัติไม่เหมือนกันทุกทิศทาง
          1.1) โครงสร้างผลึก (crystal structure) ของวัสดุ เรามักจะนึกถึงอะตอมหรือไอออนในรูปของทรงกลมที่จัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบในระบบโครงข่ายสามมิติ หรือที่เรียกว่า แลตทิซ (lattice) จุดตัดบนโครงข่ายสามมิตินี้เรียกว่า จุดแลตทิซ (lattice point) ซึ่งแสดงถึงอะตอมของในโครงข่าย แต่ละส่วนย่อยที่จัดเรียงตัวซ้ำๆกันในแลตทิซเรียกว่า ยูนิตเซลล์ (unit cell) ซึ่งกำหนดด้วยความยาวแต่ละด้าน a,b,c

    1.2) ยูนิตเซลล์มีทั้งหมด 7 แบบ แต่ละแบบมีความยาวของแต่ละด้านและมุมที่ด้านประกอบกันแตกต่างกันออกไป เราเรียกยูนิตเซลล์ทั้ง 7 แบบนี้ว่า ระบบผลึก (crystal system) ยกตัวอย่างเช่น ระบบผลึกคิวบิก (cubic) เป็นระบบผลึกที่แต่ละด้านมีความยาวเท่ากันและทำมุมกัน 90 องศา หรือ ระบบผลึกออร์โธรอมบิก (orthorhombic) ที่แต่ละด้านทำมุมกัน 90 องศา แต่ว่ามีความยาวไม่เท่ากัน
2. ของแข็งอสัณฐาน (amorphous solid)
          ของแข็งที่อนุภาคอยู่ปะปนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ ไม่มีรูปร่างที่แน่นอนเช่น แก้ว โพลิเมอร์ ยางธรรมชาติ ฯลฯ มีสมบัติทั่วๆ ไปคล้ายผลึก แตกต่างกันที่ไม่มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน ดังนั้นจึงมีสมบัติที่เรียกว่า isotropy คือ ค่าดรรชนีหักเห การนําไฟฟ้า และคุณสมบัติอื่นๆ จะเหมือนกันหมดทุกทิศทาง  นอกจากนี้ของแข็งอสัณฐานจะมีจุดหลอมเหลวไม่เด่นชัด เมื่อได้รับความร้อนจะค่อยๆ อ่อนตัวจนกระทั่งไหลได้ อุณหภูมิที่ของแข็งชนิดนี้หลอมตัวจึงอยู่ในช่วงที่ยาว ต่างจากผลึกซึ่งจะมีจุดหลอมเหลวที่เด่นชัดและอุณหภูมิที่ของแข็งชนิดนี้หลอมตัวอยู่ในช่วงที่แคบ
-                   อนุภาคเรียงตัวโดยไม่มีระเบียบแบบแผน
-                   ผิวหน้าไม่เรียบ และมุมต่างๆ กัน
-                   ช่วงการหลอมเหลวกว้าง
-                   มีสมบัติเหมือนกันทุกทิศทาง




การดุลสมการเคมี

หลักการดุลสมการโดยวิธีตรวจพินิจ

      1. พิจารณาสมการคร่าว ๆ ก่อนว่ามีธาตุอิสระหรือไม่  ถ้ามีให้ดุลธาตุอิสระเป็นกรณีสุดท้าย
      2. เริ่มต้นทำจำนวนอะตอมของธาตุต่าง ๆ ในโมเลกุลใหญ่ที่สุดให้เท่ากันก่อน (ถ้าในโมเลกุลนี้มีธาตุอิสระ
          อยู่ด้วย  ยังไม่ต้องดุลธาตุอิสระ) หลังจากนั้นจึงดุลอะตอมของธาตุที่เล็กลงตามลำดับ
      3. หลังจากดุลอะตอมของธาตุต่าง ๆ หมดแล้ว  จึงดุลอะตอมของธาตุอิสระ (ถ้ามี)
      4. บางกรณีอาจจะต้องทำจำนวนอะตอมของธาตุทางซ้ายและทางขวาของสมการให้เป็นเลขคู่ก่อน
          เพื่อสะดวกในการดุล
ตัวอย่างที่ 1   จงดุลสมการต่อไปนี้
             Al       +       NaOH       --->         Na3AlO3      +    H2
วิธีทำ    พิจารณาจากขั้นตอนต่อไปนี้
      1.  ธาตุ  Al  และ  H2   เป็นธาตุอิสระ  ดังนั้นทำให้ดุลเป็นกรณีสุดท้าย  ส่วน  Na  และ  O 
          เป็นธาตุในสารประกอบ ซึ่ง ควรจะต้องทำให้ดุลก่อน
      2. เนื่องจากจำนวนอะตอมของ  Na  และ  O  ทางซ้ายและทางขวาของสมการไม่เท่ากัน
         ตามหลักควรทำให้เท่ากันก่อน  โดยเริ่มต้นจากโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดก่อน  คือ  Na3AlO3    
      3.  เติม  3  หน้า   NaOH   เพื่อทำให้  Na  และ  O   เท่ากัน
                 Al       +      3NaOH     --->         Na3AlO3      +    H2
      4.  เมื่อจำนวนอะตอมของ  Na   และ   O   เท่ากันแล้ว  จึงทำธาตุอิสระคือ   H  และ  Al  ให้เท่ากัน
          โดยเติม   3  หน้า
                        2
                 Al       +      3NaOH     --->        Na3AlO3      +  3 H2
                                                                                     2
     5.  นำ  2  คูณตลอดสมการเพื่อให้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มลงตัวจะได้สมการที่ดุลตามต้องการ
                2Al       +      6NaOH     --->      2Na3AlO3      +   3H2
ตัวอย่างที่ 2   จงดุลสมการจากการเผาโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเตรียมก๊าซออกซิเจน
            KClO3        --->          KCl      +     O2
วิธีทำ    พิจารณาจากขั้นตอนต่อไปนี้
      1.  จากสมการจะเห็นได้ว่า  O   เป็นธาตุอิสระ   K  และ  Cl   เป็นธาตุในสารประกอบ  ดังนั้น
           ทำ  K  และ  Cl  ให้เท่ากันก่อน  แล้วจึงทำ  O  ให้เท่ากัน
      2.  โมเลกุลที่ใหญ่คือ KClO3   จะเห็นว่าทั้ง   K  และ  Cl   ทางซ้ายและทางขวาของสมการเท่ากันแล้ว
          จึงทำ  O  ให้เท่ากัน โดยเติม  3  หน้า  O2  จะได้  3  อะตอมเท่ากัน
                                                                           2
                 KClO3        --->          KCl      +    3 O2
                                                                  2
      3.  ทำจำนวนโมเลกุลให้เป็นเลขจำนวนเต็ม  โดยนำ  2  คูณตลอดสมการ  จะได้สมการที่ดุลแล้วคือ
                 2KClO3        --->          2KCl      +     3O2
ตัวอย่างที่ 3   จงดุลสมการต่อไปนี้
           C4H8   +    O2      --->            CO2    +     H2O
วิธีทำ     พิจารณาจากขั้นตอนต่อไปนี้
       1.   จากสมการจะเห็นได้ว่า   O   เป็นธาตุอิสระ   C  และ  H   เป็นธาตุในสารประกอบ  ดังนั้น
             ทำ  C  และ  H  ให้เท่ากันก่อน  แล้วจึงทำ  O  ให้เท่ากัน
       2.   เติมเลข หน้า  CO2  และเลข หน้า  H2O  เพื่อดุลจำนวนอะตอมของ C และ H
                 C4H8   +    O2       --->           4CO2    +     4H2O
       3.   เติมเลข หน้า  O2  เพื่อดุลจำนวนอะตอมของ  O
                 C4H8   +    6O2      --->           4CO2    +     4H2O

ตัวอย่างที่ 4   aC6H14 +  bO2  --->       cCO2  +   dH2O   สมการนี้เมื่อดุลแล้วและ  b  มีค่าเท่าไร
วิธีทำ     พิจารณาจากขั้นตอนต่อไปนี้
       1.  จากสมการจะเห็นได้ว่า   O   เป็นธาตุอิสระ   C  และ  H   เป็นธาตุในสารประกอบ  ดังนั้นทำ  C  และ  H
           ให้เท่ากันก่อน  แล้วจึงทำ  O  ให้เท่ากัน
       2.  เติมเลข หน้า  CO2  และเลข หน้า  H2O  เพื่อดุลจำนวนอะตอมของ C และ H
                    C6H14  +   O2    --->       6CO2  +   7H2O
         3.   เติมเลข  19   หน้า  O2  เพื่อดุลจำนวนอะตอมของ  O
                            2
                   C6H14  +  19O2    --->      6CO2  +   7H2O
                                  2
            สมการที่ได้คูณ 2 ตลอด
                  2C6H14  +   19O2 --->     12CO2  +   14H2O
     ดังนั้น    a = 2,  b = 19






สมการเคมี

  สมการเคมี  คือกลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนแทนการเกิดปฏิกิริยาเคมี 
สมการเคมีมีส่วนประกอบ  3  ส่วน
  1.  สารตั้งต้น(reactants)  คือสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน  เขียนแทนด้วยสูตรเคมี  เขียนไว้ทางซ้ายมือของสมการ
  2.  สารผลิตภัณฑ์ (product)  คือสารที่เกิดจากปฏิกิริยากัน  เขียนแทนด้วยสูตรเคมี เขียนไว้ทางขวามือของสมการ
  3.  เงื่อนไข  ซึ่งเป็นภาวะต่าง ๆ ที่กำหนดให้ปฏิกิริยาเคมี  เช่น  อุณหภูมิ  ตัวเร่งปฏิกิริยา ความดัน  เงื่อนไขเหล่านี้เขียนบอกไว้บนหรือล่างลูกศรได้ โดยสัญลักษณ์ลูกศร    คั่นอยู่ระหว่างสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์
                                                สารตั้งต้น      ---> สารผลิตภัณฑ์  
สมการเคมี  บอกให้ทราบถึงปริมาณของสารตั้งต้นที่ใช้เข้าทำปฏิกิริยากัน  และปริมาณของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ปริมาณสารที่สมการเคมีบอกให้ทราบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่
     1. จำนวนโมลของสาร
     2. จำนวนโมเลกุล  หรือจำนวนอนุภาคที่เกี่ยวข้อง
     3. ปริมาตรของสารที่เป็นแก๊ส ที่สภาวะ  STP
     4. มวลของสารที่ทำปฏิกิริยากัน
สมการเคมีไม่ได้บอกให้ทราบเกี่ยวกับอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาและพลังงานของปฏิกิริยา
      (เว้นแต่จะแสดงค่าพลังงานไว้ด้วย)
สมการเคมีที่สมบูรณ์  จะบอกสถานะของสารในปฏิกิริยาด้วย  และต้องหาตัวเลขที่เหมะสมมาเติมลงข้างหน้า
สัญลักษณ์ หรือสูตร  ของสารในสมการ เพื่อให้มีจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุในผลิตภัณฑ์เท่ากับ
จำนวนอะตอมของแต่ละธาตุในสารตั้งต้น  เรียกว่า  ดุลสมการ
ตัวเลขข้างหน้าสูตรที่ดุลแล้ว  นำเอาไปใช้ประโยชน์ในการคิดคำนวณได้หลายอย่าง
 ในการแบ่งสถานะของสารในปฏิกิริยาจากสมการเคมี  เป็นการเขียนสมการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์
ตัวเล็ก s , l , g , aq
 แทนสถานะของสารดังนี้
      s       =         solid           =        ของแข็ง
      l        =          liquid         =        ของเหลว
      g       =          gas            =       แก๊ส
     aq      =          aqueous     =       สารที่ละลายในน้ำ 


สารละลาย

สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น
เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย
สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย





มวลอะตอม

เนื่องจากอะตอมของแต่ละธาตุมีมวลน้อยมาก เช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีมวล 1.66 * 10-24 กรัม อะตอมของออกซิเจนมีมวล 2.65 * 10-23กรัม ทำให้ไม่สามารถชั่งมวลของธาตุ 1 อะตอมได้โดยตรง ดอลตันจึงได้พยายามหามวลอะตอมของแต่ละธาตุโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบว่าอะตอมาตุชนิดหนึ่งมีมวลเป็นกี่ท่าของอะตอมของอีกธาตุหนึ่งที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน
ดอลตันได้พบว่าไฮโดรเจนเป็นธาตุที่อะตอมมีมวลน้อยที่สุด จึงเสนอให้ใช้ไฮโดรเจนเป็นธาตุมาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อหามวลอะตอมของธาตุอื่นๆ โดยกำหนดให้ไฮโดรเจน 1 อะตอมมีมวลเป็น 1 หน่วย ด้วยวิธีการเช่นนี้ อะตอมของคาร์บอนมีมวลเป็น 12 เท่าของไฮโดรเจนก็จะมีมวลเป็น 12 หน่วย อะตอมของออกซิเจนมีมวลเป็น 16 เท่าของไฮโดรเจนก็จะมีมวลเป็น 16 หน่วย ตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเทียบมวลของธาตุ 1 อะตอมกับมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม เรียกว่า มวลอะตอมของธาตุ
ต่อมานักวิทยาศาสตร์จึงได้ตกลงใช้คาร์บอน-12 ซึ่งเป็นไอโซโทปหนึ่งของคาร์บอนเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบมวล เนื่องจากธาตุคาร์บอนสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ เกิดเป็นสารประกอบได้เป็นจำนวนมาก และคาร์บอน-12 เป็นไอโซโทปที่มีปริมาณสูงกว่าไอโซโทปอื่นๆ ของคาร์บอนอีกด้วย โดยกำหนดให้คาร์บอน-12 จำนวน 1 อะตอมมีมวล 12 หน่วยมวลอะตอม ดังนั้น 1 หน่วยมวลอะตอมจึงมีค่าเท่ากับ 1/12 มวลของคาร์บอน-12 จำนวน 1อะตอมหรือเท่ากับ 1.66 * 10-24 กรัม ค่าของมวลอะตอมของธาตุ
ธาตุส่วนใหญ่ในธรรมชาติมีหลายไอโซโทป และแต่ละไอโซโทปมีปริมาณมากน้อยต่างกัน มวลอะตอมของคาร์บอนที่คำนวณได้นี้เป็นค่ามวลอะตอมที่เฉลี่ยของคาร์บอน ซึ่งสอดคล้องกับค่ามวลอะตอมของธาตุที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ ดังนั้นค่ามวลอะตอมของธาตุใดๆ ในตารางธาตุจึงเป็นค่ามวลอะตอมเฉลี่ยซึ่งขึ้นอยู่กับค่ามวลอะตอมและปริมาณของแต่ละไอโซโทปที่พบอยู่ในธรรมชาติ ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์จึงหามวลอะตอมและปริมาณของไอโซโทปของแต่ละธาตุ โดยใช้เครื่องมือเรียกว่า แมสสเปกโตรมิเตอร์ ทำให้ได้ค่าที่แน่นอนและมีความถูกต้องสูง